เมนู

2. โลมสกังภิยสูตร*



วิหารธรรมของพระเสขะ ต่างกับของพระพุทธองค์



[1369] สมัยหนึ่ง ท่านพระโลมสกังภิยะอยู่ ณ นิโครธาราม ใกล้
เมืองกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น เจ้าศากยะพระนามว่ามหานาม เสด็จ
เข้าไปหาท่านพระโลมสกังภิยะถึงที่อยู่ ถวายนมัสการแล้ว ประทับนั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ตรัสถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สมาธิอัน
สัมปยุตด้วยอานาปานสตินั้น เป็นวิหารธรรมของพระเสขะ เป็นวิหารธรรม
ของพระตถาคต หรือว่าวิหารธรรมของพระเสขะอย่างหนึ่ง ของพระตถาคต
อย่างหนึ่ง ท่านพระโลมสกังภิยะถวายพระพรว่า ดูก่อนมหาบพิตร สมาธิอัน
สัมปยุตด้วยอานาปานสตินั้นแล เป็นวิหารธรรมของพระเสขะ เป็นวิหารธรรม
ของพระตถาคต หามิได้ วิหารธรรมของพระเสขะอย่างหนึ่ง ของพระตถาคต
อย่างหนึ่ง.
[1370] ดูก่อนมหาบพิตร ภิกษุเหล่าใดเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุ
อรหัตผล ย่อมปรารถนาความเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ ภิกษุเหล่านั้น
ย่อมละนิวรณ์ 5 นิวรณ์ 5 เป็นไฉน คือ กามฉันทนิวรณ์ พยาบาท
นิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ภิกษุเหล่าใด
เป็นเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตผล ย่อมปรารถนาความเกษมจากโยคะอัน
ยอดเยี่ยมอยู่ ภิกษุเหล่านั้นย่อมละนิวรณ์ 5 เหล่านี้.
[1371] ดูก่อนมหาบพิตร ภิกษุเหล่าใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว บรรลุ
ประโยชน์ตนแล้ว สิ้นสังโยชน์เครื่องนำไปสู่ภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้
โดยชอบ นิวรณ์ 5 อันภิกษุเหล่านั้นละได้แล้ว ถอนรากเสียแล้ว กระทำไม่
* อรรถกถา กล่าวว่า มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น I

ให้มีที่ตั้งดุจตาลยอดด้วน กระทำไม่ให้มี มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
นิวรณ์ 5 เป็นไฉน คือ กามฉันทนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์
อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ภิกษุเหล่าใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ.
หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ นิวรณ์ 5 เหล่านี้ อันภิกษุเหล่านั้นละได้แล้ว
ถอนรากเสียแล้ว กระทำไม่ให้มีที่ตั้งดุจตาลยอดด้วน กระทำไม่ให้มี มีอัน
ไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา.
[1372] ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์พึงทราบข้อนี้ โดยปริยายที่
วิหารธรรมของพระเสขะอย่างหนึ่ง ของพระตถาคตอย่างหนึ่ง.
[1373] ดูก่อนมหาบพิตร สมัยหนึ่ง พระผู้พระภาคเจ้าประทับ
อยู่ ณ ไพรสณฑ์ ชื่ออิจฉานังคละ ใกล้อิจฉานังคลนคร ณ ที่นั้นแล พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา
ปรารถนาจะหลีกเร้นอยู่สักสามเดือน ใคร ๆ ไม่พึงเข้ามาหาเรา เว้นแต่ภิกษุ
ผู้นำบิณฑบาตรูปเดียว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว
ใคร ๆ ไม่เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เว้นแต่ภิกษุผู้นำบิณฑบาตรูปเดียว
[1374] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่เร้นโดยล่วง
สามเดือนนั้นแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกจะพึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ
ทั้งหลาย พระสมณโคดมอยู่จำพรรษาด้วยวิหารธรรมข้อไหนมาก เธอทั้งหลาย
ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อน
ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าจำพรรษาอยู่ด้วยสมาธิอันสัมปยุตด้วย
อานาปานสติมาก.
[1375] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรามีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า

หายใจเข้ายาว ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจ
ออก ย่อมรู้ชัดว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า.
[1376] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อกล่าวถึงสิ่งใดโดยชอบ
พึงกล่าวถึงสิ่งนั้นว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะบ้าง ธรรมเป็นเครื่อง
อยู่ของพรหมบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระตถาคตบ้าง ดังนี้ พึงกล่าวถึง
สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะบ้าง
ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหมบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระตถาคตบ้าง
ภิกษุเหล่าใดเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตผล ย่อมปรารถนาความเกษมจาก
โยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเหล่านั้น
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อควานสิ้นอาสวะ.
[1377] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเหล่าใดเป็นพระอรหันต
ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว
บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นสังโยชน์เครื่องนำไปสู่ภพแล้ว หลุดพ้น
แล้ว เพราะรู้โดยชอบ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเหล่านั้น
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
และเพื่อสติสัมปชัญญะ.
[1378] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อจะกล่าวถึงสิ่งใดโดยชอบ
พึงกล่าวถึงสิ่งนั้นว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะบ้าง ธรรมเป็นเครื่อง
อยู่ของพรหมบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระตถาคตบ้าง ดังนี้ พึงกล่าวถึง
สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะบ้าง
ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหมบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระตถาคตบ้าง.
[1379] ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์พึงทราบข้อนี้ โดยปริยายที่
วิหารธรรมของพระเสขะอย่างหนึ่ง ของพระตถาคตอย่างหนึ่ง.
จบโลมสกังภิยสูตรที่ 2

3. ปฐมอานันทสูตร



ว่าด้วยปัญหาของพระอานนท์



[1380] กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้
มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอย่างหนึ่ง
อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม 4 ข้อให้บริบูรณ์ ธรรม 4
ข้ออันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม 7 ข้อให้บริบูรณ์
ธรรม 7 ข้อ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม 2 ข้อให้
บริบูรณ์ มีอยู่หรือหนอ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มีอยู่ อานนท์.
[1381] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ธรรมอย่างหนึ่งอันภิกษุเจริญ
แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม 4 ข้อให้บริบูรณ์ ธรรม 4 ข้อ ...
ธรรม 7 ข้อ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม 2 ข้อให้
บริบูรณ์ เป็นไฉน.
พ. ดูก่อนอานนท์ ธรรมอย่างหนึ่ง คือ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานา
ปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐาน 4 ให้
บริบูรณ์ สติปัฏฐาน 4 อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ 7
ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ 7 อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยัง
วิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์.
[1382] ดูก่อนอานนท์ ก็สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อัน
ภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมยังสติปัฏฐาน 4 ให้
บริบูรณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี